วันจันทร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2553

วิธีก่ดูแลตัวเองขณะท้อง

ยังไม่ท้องกับเขาหรอกค่ะ แต่ก็ศึกษาไว้ก่อน เผื่ออนาคตพอมีจริงๆจะได้ไม่ต้องเครียดมาก

เรื่องการดูแลตัวเองตอนท้อง ไม่ให้อ้วน แต่ลูกสมบูรณ์เต็มที่

· ต้องดื่มนมให้ได้อย่างน้อยวันละสองถึงสามแก้ว แต่เป็นนมพร่องมันเนย หรือมีไขมันครึ่งเดียว (รวมถึงพวกโยเกิร์ตด้วย)
· ต้องกินปลาให้ได้อย่างน้อยอาทิตย์ละสองครั้ง
· ไม่ได้ใช้พวกวิตามินหรือธาตุเหลือเสริม (ตอนนั้นเป็นภูมิแพ้ หมอเลยสงสัยว่าอาจมาจากพวกวิตามิน เลยให้งด) แต่ต้องทานลูกเกด (แบบที่มีเม็ดใน แบบที่ไม่มีเม็ด มันช่วยไม่ได้มาก) อัลมอนด์ แอพพริคอทแห้ง ลูกมะเดื่อแห้ง (ที่ภาษาอังกฤษมันเรียกว่า Fig) และยิ่งใกล้คลอดก็ต้องทานอินทผาลัมให้มากๆ
· เนื้อแดง (พยายามกินที่ไม่มีไขมัน) ไข่ ไก่
· ควบคุมอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล ไขมัน (เวลาอยากกินจุกจิกก็หยิบพวกผลไม้ทั้งสดหรือแห้งมาใส่ปากแทน)
· พยายามทานพวกผัก ผลไม้เยอะๆ ด้วยจ้า

วันเสาร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2553

กรรมและวิธีแก้กรรม

ต้นเหตุแห่งกรรมและการลดกรรม


1. กรรมที่ไม่มีลูก
กรรมจาก การทำร้ายลูกของสัตว์อื่น พรากสัตว์อื่นจากพ่อแม่หรือเคยข่มเหงลูกคนอื่น
ลดกรรม ด้วยการงดกินเนื้อสัตว์ทุกๆ 7 วัน ในทุกๆเดือนทำบุญปล่อยปลาลงน้ำ ปล่อยนกปล่อยกา ทำบุญบริจาคทานที่มูลนิธิสัตว์หรือ มูลนิธิเด็กอ่อน


2. เจ็บป่วยบ่อย หรือเป็นโรคร้าย
กรรมจาก เคยทำทารุณกรรมต่อสัตว์
ลดกรรม ด้วยการทำบุญทำทานกับสัตว์อนาถา ให้อาหารให้ความเมตตา ซื้อยาหรือบริจาคเงินที่โรงพยาบาลสงฆ์ ทำบุญปล่อยเต่า งดกินเนื้อสัตว์ตลอดชีวิต


3. ตาบอดหรือเป็นโรคตา
กรรมจาก เคยทำร้ายสัตว์ที่ดวงตา หรือไม่เคยทำบุญเติมน้ำมันตะเกียงในชาติก่อน หรือเคยทำลายไฟฟ้าของวัด ของที่สารธารณะ
ลดกรรม ซื้อโคมไฟ หลอดไฟถวายวัด ถวายเทียนห่อใหญ่ ถวายไฟฉาย เติมน้ำมันตะเกียงทุกวันพระ บริจาคเงินในกล่อง ซื้อน้ำมันเติมตะเกียงที่วัด


4. ถูกรถเฉี่ยวชน ถูกลูกหลง ถูกสัตว์กัดต่อย
กรรมจาก จากเคยเป็นคนพาลเกะกะเกเร หาเรื่องเดือดร้อนให้ผู้อื่น มักรังแกและสาปแช่งผู้อื่นอยู่เสมอ
ลดกรรม หมั่นพูดดี มีวาจาไพเราะ


5. สูญเสียคนใกล้ชิด
กรรมจาก เคยยิงนกตกปลา
ลดกรรม ทำบุญไถ่ชีวิตโค กระบือ งดกินเนื้อสัตว์อย่างน้อยสัก 1 อย่างชั่วชีวิต หรือกินเจทุกๆ 3 เดือน ทำบุญปล่อยนกปล่อยปลา


6.ถูกนินทา ถูกให้ร้าย
กรรมจาก เคยพูดจาให้เป็นเหตุให้คนอื่นเป็นทุกข์หรือเดือดร้อน
ลดกรรม พิมพ์หนังสือธรรมะแจกฟรี พูดดี พูดให้คนอื่นเกิดประโยชน์ พูดให้ผู้อื่นมีความสุข


7. มักเดือดร้อนเพราะไฟ ไฟไหม้บ้าน ไฟดูด
กรรมจาก เคยลบหลู่พระสงฆ์ และศาสนา
ลดกรรม ตักบาตรทุกวันพระ ทำบุญถวายสังฆทานทุกเดือน ฟังเทศน์ฟังธรรมทุกวันพระ หรือทุกๆเดือนในวันพระ ร่วมพิมพ์หนังสือ ธรรมะแจกจ่ายฟรี


8. ขาดบารมี ไร้ญาติขาดมิตร
กรรมจาก ไม่เคยไปร่วมงานบุญงานศพ
ลดกรรม ร่วมทำบุญงานศพ บริจาคเงิน หรือร่วมด้วยแรงกายช่วยงานอื่นๆในงานศพ เช่นทำอาหาร จัดดอกไม้


9. ตั้งหลักปักฐานไม่ได้ โยกย้ายบ่อย
กรรมจาก ไม่เคยร่วมทำบุญสร้างโบสถ์สร้างวิหาร แก่วัดวาอารามต่างๆ
ลดกรรม ร่วมทำบุญสร้างโบสถ์ สร้างหลังคาวิหาร ร่วมทำบุญฝังลูกนิมิต หมั่นไปไหว้ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ณ เมืองที่ตนอยู่อาศัย


10. มักถูกรังแก ถูกเบียดเบียน
กรรมจาก ไม่เคยบวช หรือทำบุญงานบวช
ลดกรรม บวช ด้วยจิตศรัทธาปวารถาอย่างบริสุทธิ์ไม่มีเจตนาอื่นแ! อบแฝงจะบวช 7 วัน หรือ 15 วัน 1 เดือน 1 พรรษา แล้วแต่ จิตศรัทธา ถ้าเป็นสตรีจะบวชชีพราหมณ์ หรือถือศีล 8 ตามเวลาที่สะดวกและตั้งจิตศรัทธา หรือร่วมทำบุญงานบวชอย่างสม่ำเสมอเท่าที่จะทำได้


11.ไม่มีคนชื่นชมเอ็นดู ชาดเสน่ห์
กรรมจาก ไม่เคยถวายของหอม
ลดกรรม หมั่นทำบุญไหว้พระทุกวันพระ ถวายธูปหอม เทียน ดอกไม้สด พวงมาลัย ทองคำเปลว ประน้ำอบน้ำปรุง ประพฤติดี ปฏิบัติชอบต่อผู้อื่น คิดดี ทำดี พูดดี ให้ผู้อื่นได้ดี มิให้ร้ายผู้ใด


12. เป็นที่รังเกียจ มีกลิ่นปาก กลิ่นตัว
กรรมจาก ทำติเตียนดูแคลน ผู้ที่ชอบทำบุญทำทาน
ลดกรรม หมั่นทำบุญทำทานอย่างสม่ำเสมอ ฟังเทศน์มหาชาติทุกๆปี ชักชวนผู้อื่นให้ร่วมทำบุญหรือบริจาคทานเป็นการบอกบุญผู้อื่น พิมพ์หนังสือธรรมะแจกฟรี

13. ไปไหนมาไหนลำบาก มีแต่อุปสรรค
กรรมจาก เคยทำลายหนทางสัญจรของวัด หรือของชาวบ้าน หรือทำให้ทางสัญจรสาธารณะได้รับความไม่สะดวก
ลดกรรม บริจาคทรัพย์หรือแรงกายช่วงสร้างสะพาน สร้างทางอันเป็นประโยชน์แก่วัด หรือชุมชนเล็กๆ ช่วยผู้คนยากไร้ให้ ได้มียวดยานพาหนะหรือทางสัญจรที่สะดวก


14. เป็นคนรับใช้เขาร่ำไป
กรรมจาก เคยเนรคุณผู้ที่เคยมีพระคุณแก่ตน
ลดกรรม ตอบแทนผู้มีคุณด้วยความกตัญญู ร่วมทำบุญสร้างพระพุทธรูป
พระประธาน ทำทานทั้งกับคนและสัตว์


15. ขัดสน อดมื้อกินมื้อ
กรรมจาก เคยละเว้นการใส่บาตร ละเว้นการให้ทาน เมื่อมีคนยากไร้มาขอทานอาหารและน้ำ
ลดกรรม แบ่งปันอาหาร น้ำ เสื้อผ้า แก่คนยากไร้อนา! ถา แม้ไม่มีเงินก็แบ่งปันสิ่งของตามที่มี ตักบาตรทุกเช้าหรือทุกวันพระ


16. อาภัพคู่ ร้างคู่
กรรมจาก เคยผิดลูกผิดเมียเขา
ลดกรรม บวชพระ หรือบวชชีพราหมณ์ ร่วมทำบุญเป็นเจ้าภาพงานแต่งงานคู่บ่าวสาวที่ยากจน ถวายของเป็นคู่ เช่น แจกันคู่ เชิงเทียนคู่ หมอนคู่ เป็นต้น


17. ได้คู่ที่เลวร้าย ทำร้ายตนหรือทำให้เป็นทุกข์
กรรมจาก เคยข่มขืนเขาในชาติก่อน เคยทุบตีทำร้ายคู่
ลดกรรม บวชพระ หรือบวชชีพราหมณ์ ทำบุญปล่อยนกปล่อยปลา


18. อยู่โดดเดี่ยวยามบั้นปลาย
กรรมจาก เคยจับสัตว์ขัง
ลดกรรม ทำบุญปล่อยปลาลงน้ำ ปล่อยนกปล่อยกา ทำบุญทำทานแก่เด็กอนาถาและสัตว์อนาถา


19. รูปร่างหน้าไม่งดงาม
กรรมจาก ไม่เคยถวายดอกไม้ของหอม
ลดกรรม ถวายพวงมาลัยดอกไม้สด ดอกไม้หอม ทำบุญบริจาคดวงตา บริจาคร่างกายให้โรงพยาบาล


20. มักถูกโกง ถูกเบี้ยวเงิน
กรรมจาก เคยคดโกงผู้อื่น!
ลดกรรม สละทรัพย์บริจาคร่วมการกุศลต่างๆ ทำบุญตักบาตร ถวายสังฆทาน อุทิศส่วนกุศลแก่เจ้ากรรมนายเวรทุกๆเดือน


21. พิการ ร่างกายไม่สมประกอบ
กรรมจาก เคยทุบตีพ่อแม่ ด่าพ่อแม่ หรือทำร้ายพ่อแม่
ลดกรรม หมั่นทำบุญไหว้พระ ปล่อยนกปล่อยปลา ถือศีล 5 ศีล 8 เจริญภาวนา นั่งวิปัสสนากรรมฐาน


22. มีคดีความ
กรรมจาก เคยพบคนทุกข์ร้อนแล้วไม่ช่วยหรือไม่พยายามหาทางช่วยเหลือ
ลดกรรม หมั่นทำบุญปล่อยนกปล่อยปลา นั่งสมาธิ เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ถือศีล 8 ทุกๆ 3 เดือนๆละ 7 วัน


23. ไร้ที่อยู่เป็นหลักแหล่ง
กรรมจาก ไม่สงเคราะห์คนอนาถา ที่มาขออาหาร ขอชายคาหลบฝน ไม่มีน้ำใจช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยาก
ลดกรรม ร่วมทำบุญซื้อกระเบี้องหลังคาโบสถ์ หมั่นไปกราบไหว้บู! ชาศาลหลักเมือง ทำบุญทำทานแก่สัตว์พิการหรือสัตว์จรจัด


24. จิตใจขุ่นมัว ดุดัน ขี้โมโห
กรรมจาก มักตะหนี่ในการทำบุญ
ลดกรรม สวดมนต ์ไหว้พระ ทุกวันพระ ฝึกวิปัสสนากรรมฐาน ถือศีล 5 หรือศีล 8 ทุกๆ 3 เดือน บริจาคทาน แบ่งปันเงินทองหรือ สิ่งของแก่ผู้ตกทุกข์ได้ยาก หรือร่วมทำบุญบริจาคทานกับมูลนิธิสถานสงเคราะห์ และวัดวาอารามต่างๆ


25. ไม่มีชื่อเสียง
กรรมจาก เคยติฉินนินทาทำให้ผู้อื่นเสียหาย
ลดกรรม ร่วมทำบุญสร้างหอระฆัง ร่วมทำบุญหล่อเทียนพรรษา ทำทานกับคนยากไร้ และสัตว์อนาถา


26. ไม่มีวาสนาบารมี
กรรมจาก ไม่เคยนับถือชื่นชมผู้นับถือธรรมมะ
ลดกรรม ทำบุญสร้างพระพุทธรูป ทำทานกับคน


27. มีลูกหลานไม่ดี เกเร ไม่เชื่อฟัง
กรรมจาก ทำแท้ง เคยทำร้ายคนใกล้ชิดมาก่อน และทำร้ายจิตใจครอบครัวในชาติก่อน
ลดกรรม บวชเณร โดยให้ลูกบวชหรือไปร่วมบวช จะทำให้กรรมน้อยลง ปฏิบัติธรรม อุทิศให้ลูกตนเอง


28. เจอแต่คนเอาเปรียบ
กรรมจาก เคยเบียดเบียนเงินพ่อแม่ไว้ในอดีตชาติ เคยโกงคนไว้ในอดีตชาติ ขโมยเงินครอบครัวมาใช้
ลดกรรม หมั่นยึดถือศีล 5 ให้มั่น ไม่ดื่มเหล้า ทำให้ขาดสติ โดนโกงง่าย หมั่นสวดมนต์ อธิษฐานบารมีด้านขอพรให้พบเจอคนดี ๆ เข้ามาในชีวิต


29. เกิดในสกุลต้อยต่ำ
กรรมจาก โอหัง อวดดี จิตใจคับแคบ
ลดกรรม ร่วมทำบุญสร้างวัด สร้างพระประธาน ทำบุญทำทานกับคนยากไร้ และสัตว์อนาถา พิมพ์หนังสือธรรมะแจกฟรี


30. ไร้สง่าราศี ขาดวาสนา
กรรมจาก เคยเมาสุระอาละวาด ระรานผู้อื่น
ลดกรรม นั่งสมาธิ ฝึกกรรมฐาน ทำทานกับคนอนาถา และสัตว์อนาถา ร่วมพิมพ์หนังสือธรรมะแจก


31. ไม่เจริญก้าวหน้า จิตใจเป็นทุกข์
กรรมจาก เคยชักจูงคนทำชั่ว
ลดกรรม ถือศีล 8 เป็นเวลา 7 วัน ทุกๆ 3 เดือน หมั่นทำบุญตักบาตร ถวายสังฆทาน


32. จิตใจฟุ้งซ่าน เป็นทุกข์
กรรมจาก เคยริษยาผู้อื่น
ลดกรรม ทำบุญตักบาตร ถวายสังฆทาน ปล่อยปลาลงน้ำ นั่งสมาธิ สวดมนต์บทคาถาพระชินบัญชร


33. ชีวิตตกต่ำ ทำสิ่งใดไม่เจริญ
กรรมจาก เคยทำแท้ง
ลดกรรม ปล่อยปลาลงน้ำทุกๆเดือน จนครบ 9 เดือน หรือ 1 ปีเต็ม ถวายสังฆทาน ทำบุญใส่บาตรเสมอ


34. เป็นเมียน้อย เมียเก็บ
กรรมจาก เคยผิดลูกผิดเมียเขามาก่อน ขืนใจเขาโดยไม่ยินยอม เคยอธิษฐานจิตร่วมกันมาว่ากี่ภพก็ขอให้ได้ใช้ชีวิตคู่ด้วยกัน
ลดกรรม ถวายธงคู่ ธูปคู่ เชิงเทียนคู่ หมอนคู่ อย่างใดก็ได้ อธิษฐานจิตขอให้มีชีวิตคู่ที่ดีขึ้น บวชชีพราหมณ์ ปีละ 1 ครั้ง 3 วัน อุทิศให้ เจ้ากรรมนายเวรที่เคยล่วงเกินให้ได้รับกุศลและเปิดทางให้ชีวิตคู่ดีขึ้น ร่วมเป็นเจ้าภาพงานแต่ง เพื่อชีวิตตนจะดีขึ้นและ สมหวัง สวดมนต์ขอพรทุกวันเกิดด้านความรักให้สมหวังต่อไป ทำบุญสังฆทานสด ในวันเกิดตนเอง เดือนละครั้ง เพื่ออุทิศ ให้เจ้ากรรมนายเวรในอดีตชาติปัจจุบันชาติและวิญญาณที่ตามมาให้ได้รับกุศลและอโหสิกรรม


35. เป็นทุกข์เพราะคนในครอบครัว
กรรมจาก เคยลำเอียง ไร้คุณธรรมในด้านครอบครัวไว้ก่อน เคยเอารัดเอาเปรียบคนในครอบครัวและคนใกล้ชิดไว้ในชาติอดีตและ
ชาติปัจจุบัน เคยทำให้ครอบครัวเขาแตกแยกในอดีตชาติ
ลดกรรม ต้องบวชชีพราหมณ์ เพราะเมื่อเกิดอีกภพชีวิตจะได้ดีมีชีวิตที่ดีขึ้น เพราะกุศลของการบวช ปฏิบัติธรรมทำให้เจ้ากรรมนายเวร อโหสิกรรม และตนเองได้พบสิ่งที่มีกุศลมากขึ้น ยึดพรหมวิหาร 4 มี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา จะทำให้ชีวิตมีความเมตตา และไม่ลำเอียงเอารัดเอาเปรียบคนใกล้ชิด ทำให้วิถีชีวิตมีคนนับถือและพ้นจากความทุกข์ในเรื่องญาติพี่น้องยุ่งเกี่ยวได้ นำพระคู่บ้านคู่เมืองเข้าสักการะที่บ้าน และสวดมนต์ขอพรให้ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข


36. เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต
กรรมจาก ฆ่าสัตว์ ทรมานสัตว์ ทำร้ายคนไว้ในอดีตชาติและปัจจุบันชาติ
ลดกรรม ตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรในอดีตชาติปัจจุบันชาติ รวมถึงสรรพสัตว์ทั้งหลายให้ได้กุศลและอโหสิกรรมซึ่ง กันและกัน ปล่อยสัตว์ลงน้ำในวันเกิดตนเอง กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรได้รับและอโหสิกรรม ถวายยาเข้าวัด หรือช่วยเหลือคนป่วย


37. เป็นมะเร็ง
กรรมจาก รู้เห็นเป็นใจกับการทำแท้ง การทารุณสัตว์ หรือการทำร้ายเบียดเบียนผู้อื่น
ลดกรรม ทำบุญใหญ่อุทิศให้เจ้ากรรมนายเวร และบวชชีพราหมณ์ 1 เดือน เพื่อส่งกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรอโหสิกรรม ทำบุญสร้างพระพุทธรูป สร้างโบสถ์หรือสร้างศาลาวัด ร่วมพิมพ์หนังสือธรรมะแจกฟรี หมั่นนั่งสมาธิ ฝึกกรรมฐาน


38. ค้าขายขาดทุน ทำงานไม่ก้าวหน้า
กรรมจาก เคยลบหลู่เจ้าที่เจ้าทาง
ลดกรรม หมั่นทำบุญใส่บาตร ถวายสังฆทาน ถวายเครื่องเซ่นสังเวย เจ้าที่-เจ้าทาง หมั่นสวดมนต์บทคาถาพระชินบัญชร


39. ด้อยปัญญา
กรรมจาก ฝักใฝ่อบายมุขในชาติก่อน หรือชักชวนคนไปทำชั่ว ดูแคลนหลักธรรมมะ
ลดกรรม พิมพ์หนังสือธรรมะจ่ายแจก ทำบุญทำทานกับโรงเรียนของเด็กพิการหรือตาม! ูลนิธิต่างๆ


40. ตกงาน
กรรมจาก เคยกลั่นแกล้งผู้อื่นในเรื่องงาน หรือแย่งงานผู้อื่น
ลดกรรม หมั่นทำบุญทำทาน ร่วมงานบุญต่างๆ ปล่อยนกปล่อยปลา


41. ไม่มีโชคลาภ
กรรมจาก ไม่เคยสวดมนต์ไหว้พระ
ลดกรรม หมั่นทำบุญสวดมนต์ไหว้พระ ถวายธูป เทียน ดอกไม้สด พวงมาลัย และทองคำเปลว


42. เรียนไม่จบ การเรียนมีอุปสรรค
กรรมจาก ชาติก่อนปฏิเสธการฟังเทศน์ฟังธรรม
ลดกรรม หมั่นเข้าวัด ร่วมงานบุญต่างๆ ฟังเทศน์ อ่านหนังสือธรรมะ


43. มีอาชีพต้อยต่ำที่ผู้คนดูแคลน
กรรมจาก ชาติก่อนเคยบวชด้วยเจตนาไม่บริสุทธิ์ ไร้ความศรัทธาอาศัยผ้าเหลืองหากิน
ลดกรรม ถือศีล 5 ศีล 8 นั่งสมาธิ ฝึกกรรมฐาน ถวายสังฆทานทุกเดือน หรือทุก 3 เดือน


44. ครอบครัวยากจน
กรรมจาก ชาติก่อนไม่เคยบริจาคทาน
ลดกรรม หมั่นทำบุญด้วยการบริจาคทาน ถ้ามีเงินไม่มากก็บริจาคเป็นสิ่งของ แรงกาย หรือน้ำใจ ต่อผู้ตกทุกข์ได้ยาก เช่น ไปช่วยอ่านหนังสือให้มูลนิธิคนตาบอด


45. เป็นทุกข์เพราะความรัก
กรรมจาก ชาติก่อนเจ้าชู้ หลอกผู้อื่นให้อกหัก
ลดกรรม ประพฤติดีปฏิบัติดีทั้งความคิด กาย วาจา ใจ ร่วมทำบุญงานแต่งงาน ทำสิ่งดีๆให้คนอื่นได้


ที่มา : http://www.tanaypayakorn.com/index.php?mo=3&art=284952

วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2553

ระวังโดนหลอกสำหรับคนที่ชอบ Chat กับต่างชาติ

ลองอ่านใน link นี้นะคะ >> http://www.ladyinter.com/forum_posts.asp?TID=854&PN=1  จะได้ระวังตัวไว้ด้วยสำหรับคนที่ประสบการณ์ยังน้อยในการท่องอินเตอร์เนต

วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บทความ..อ่านแล้วซึ้งจัง

ชีวิตคนเรามีอะไรมากมายที่ผ่านเข้ามาให้ซึมซับรับรู้ ในชีวิตคนเรามีผู้คนมากมายที่ผ่านเข้ามาให้รู้จักมักคุ้น แต่ในผู้คนมากมายเหล่านั้น อย่างน้อยคงต้องมีใครบางคนที่ทำให้เรารู้สึก “ไม่ธรรมดา” ที่จะนึกถึง เรียกว่าเป็น “ความพิเศษ” ที่เราจะยกเว้นเอาไว้จากความปกติทั่วไปของจิตใจ ก็ในเมื่อคำว่า “พิเศษ” หมายถึงความจำเพาะ ความแปลกแยก ความดีงาม ความอบอุ่นในหัวใจ กระนั้นทำไมเราไม่ปฏิบัติต่อเขาให้ตรงกับที่ใจคิด ให้ “ความรู้สึกดีดี” จากจิตใจที่ดีดี ให้ “ความอาทรถึง” จากจิตใจที่นึกถึง ให้ “ความห่วง” จากจิตใจที่เป็นห่วง ให้ไปเถอะ ให้ไปอย่างดีดี แต่มี “สติ” ให้ไปเถอะ ให้ไปอย่างอบอุ่น แต่ไม่ “คุกรุ่น” ให้ไปเลย ให้ไปเท่าไหร่ก็ได้ แต่เมื่อให้ไปแล้วต้อง “ไม่ร้อนรุ่มกลัดกลุ้ม” และหากเมื่อใดจิตใจอาจระส่ำระสาย สะดุดกับอะไรขึ้นมาบ้าง ก็จงหยุดพักตรึกตรอง อย่าปล่อยให้พายุอารมณ์โถมพัด “สิ่งดีดี” จนกระจัดกระจาย เพราะ “การให้ความหมาย” ไม่ใช่ “การตั้งความหวัง” คนสองคนให้ความหมายซึ่งกันและกัน แต่คนสองคน “จะไม่ตั้งความหวังในกันและกัน” เพราะการตั้งความหวังมักนำพาซึ่ง “การเรียกร้อง” “ความอยากเป็นเจ้าข้าวเจ้าของ” โดยที่ไม่รู้ตัว มันร้อนนัก หนาวนัก และไม่เป็นสุข เราต้องไม่ลืมปรับอุณหภูมิจิตใจเอาไว้ที่องศาอุ่นๆ หากเริ่มรู้สึกตัวว่า ความร้อนเริ่มทวีขึ้น เราต้องค่อยๆ เดินออกมาสูดอากาศเย็น หากตรงกันข้ามเราก็ต้องหลบเร้นจากความหนาวมาหาไอแดดเช่นกัน และอย่าลืมว่า “ความพิเศษ” ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นพิเศษมากหรือพิเศษสุด หรือพิเศษอย่างยิ่งในคนคนเดียว ทั้งเราและเขาอาจจะมีคนพิเศษในวิถีชีวิตได้หลายลักษณะ พิเศษในเรื่องนั้น พิเศษในเรื่องนี้ ในเมื่อหัวใจเป็นของเรา เราก็ย่อมเลือกให้ความพิเศษกับใครก็ได้ที่เราจะไม่ต้องแลกกับความทุกข์อย่างพิเศษกลับมา จงให้ “ความพิเศษ” เป็นชีวิตชีวา เป็นแววตาที่แจ่มใส เป็นความห่วงใยที่เมื่อนึกถึงทีไรก็ยิ้มได้ ไม่วิ่งหนี แต่ไม่วิ่งตาม ไม่หักห้าม แต่ไม่กระโจนใส่ ไม่เป็นน้ำตาลที่หวานอ่อนไหว แต่เป็นความอบอุ่นในหัวใจและเอื้ออาทร จงเป็นความแจ่มใสในอารมณ์ของตัวเอง เป็นความชุ่มชื่น สดใส เช่นสายน้ำ เป็นสีสันงดงามเช่นมวลผกา เป็นสีเขียวของใบไม้ ที่เย็นที่ตาและที่ใจ และที่ตรงนี้ จะอีกนานเท่าใด ไม่ว่า “คนพิเศษ” คนนั้นจะอยู่ใกล้หรือต้องจากกันไกล “ความพิเศษ” นั้นก็จะคงอยู่อย่างมีคุณค่า ณ ที่เดิม ที่ซึ่งใจข้างซ้ายตรงกัน

วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

อะไรบ้างที่ไม่สามารถนำเข้าประเทศออสเตรเลีย

หลังจากที่เพื่อนๆได้รับวีซ่ากันเรียบร้อยแล้ว คราวนี้ก็คงเริ่มเตรียมตัวจะบินกันแล้ว แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า เราจะนำอะไรมาได้บ้าง ก็ได้ทำการรวบรวมข้อมูลไว้ที่ blog นี้ เพื่อเพื่อนๆจะได้สะดวกในการหาข้อมูลไม่ต้องไปเสียเวลาค้นคว้าหาข้อมูลที่กระจัดกระจายหลายๆที่เอามารวมกันซะที่เดียวเลย
คลิกดูรายละเอียดจากเล่มนี้ค่ะ

1.อะไรบ้างที่ข้าพเจ้าไม่สามารถนำเข้าประเทศออสเตรเลีย?
What can't I take into Australia?

2.อะไรคือสิ่งของที่ห้ามส่งทาง ไปรษณีย์มายังประเทศออสเตรเลีย?
What can't be mailed to Australia?


3.อะไรที่ปรับทันที?
What On-the-spot fines?

4. มีอะไรบ้างที่ต้อง declare เมื่อนำเข้าไปในออสเตรเลีย?
- นก ขนนก และผลิตภัณฑ์จากสัตว์,สัตว์ปีก
- เมล็ดพืช ผลิตภัณฑ์จากพืช และถั่วตากแห้ง
- ผลิตภัณฑ์จากนม,ชากาแฟและเครื่องดื่มอื่นๆที่มีนมเป็นส่วนประกอบ
- ผัก และผลไม้สด (ผักผลไม้แห้งต้องได้รับการบรรจุหีบห่อเพื่อการค้า)
- น้ำผึ้ง และผลิตภัณฑ์จากผึ้ง
- พืช แมลง สัตว์ที่มีชีวิต ,อุปกรณ์ใช้แล้วที่ใช้กับสัตว์
- เนื้อและผลิตภัณฑ์จากเนื้อ (ทั้งสดและแห้ง) รวมถึงหมูกระป๋อง
- ปลา,ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลอื่นๆ (สดและแห้ง)
- อาหารต่างๆที่สุก,ดิบ,รับประทานเล่น,ส่วนผสมของอาหาร และขนมต่างๆ
- ผลิตภัณฑ์ยา,สมุนไพร
- ดินและทราย
- ฟาง และหญ้าแห้ง และเครื่องประดับที่ทำจากฟาง
- อุปกรณ์กีฬาและอุปกรณ์ออกค่ายที่ใช้แล้ว
- ไม้และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไม้

5. ทำไมต้อง Declare ?
ก่อนที่เครื่องบินจะลงจอดที่ออสเตรเลียประมาณ 1 ชั่วโมง เค้าจะแจกใบ declaration เป็นใบสีเหลือง ให้เรากรอกว่าเราเอาอะไรที่อยู่ในรายการนี้เข้าประเทศหรือเปล่า เพราะตอนออกจาก airport เราจะต้องผ่านช่องตรวจของ AQIS (Australian Quarantine and Inspection Service) ถ้ามีของในรายการก็จะต้องผ่านเจ้าหน้าที่ช่องสีแดง เจ้าหน้าที่จะทำการตรวจว่าของที่เรานำเข้ามานั้นเป็นอันตรายหรือเปล่า เพราะประเทศนี้เค้าใส่ใจสุขภาพมาก กลัวว่าของที่เราเอาเข้ามาจะเป็นอันตรายหรือแพร่เชื้อโรคในประเทศเค้าค่ะ

6. ถ้าไม่ Declare จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ?
หากเราไม่แน่ใจว่าของที่เอามาบางอย่างควร declare หรือเปล่า ก็ declare ไปดีกว่าค่ะ ถ้าผ่านช่องเขียวแล้วปรากฎว่าของๆเราไม่ถูกต้อง คราวนี้ก็จะโดนค่าปรับค่ะ ไม่มีข้ออ้างว่าไม่รู้กฎหมายนะคะ

สำหรับเรา ไม่เอาของต้องห้ามมาเลย เนื่องจากไม่อยากเสียเวลาในการรอคิว declare เดินผ่านช่องเขียวมาเลย เร็วดี ไม่ต้องเสียเวลา เอาแต่ DVD มาค่ะ ส่วนใหญ่ก็หนังซีรี่ส์เกาหลี หนังฝรั่งบ้าง เป็นร้อยกว่าแผ่นเลยทีเดียว ประเทศนี้ไม่สนเรื่องลิขสิทธิ์หนังค่ะ

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

What's mean "SinSod"

ช่วงนี้พอมีเวลาเลยนั่งรวบรวมข้อมูลของคำว่า "สินสอด" ,"SinSod" ก็ไม่ได้นั่งเขียนเองหรอกค่ะ แต่ก็พยายามหาข้อมูลมาให้ เนื่องจากว่า จากประสบการณ์ของตัวเอง เป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับที่จะอธิบายฝ่ายชายเรื่องสินสอด เพราะฝรั่งเขาไม่เข้าใจค่ะ ว่าทำไมคนไทยถึงต้องขายลูกสาว เขาคิดงี้จริงๆค่ะ เราก็พยายามจะอธิบายนะว่ามันเป็นฟระเพณีของไทยแต่โบราณ แต่ปัญหามันมีอยู่ว่า ถ้าพูดภาษาไทยคงจะคุยกันรู้เรื่อง แต่ต้องพูดภาษปะกิตนี่สิ ปวดกะโหลกไปเลย คุยไปทะเลาะกันไป เลยขู่ไปเลย ถ้ายอมรับประเพณีไทยไม่ได้ก็เลิกกันไปซะ เอางั้นเลย สุดท้ายเขาต้องไปค้นคว้าหาข้อมูลทำความเข้าใจจนได้ อิอิ ก็เลยคิดว่า เพื่อนๆหลายคนก็คงประสบปัญหานี้เหมือนกัน ไม่มากก็น้อย เอาล่ะเข้าเรื่องเลยดีกว่า ตามมาเลยค่ะ

Thai dowry must be one of the most discussed issues on Thailand web boards. The Thai dowry system is known as the 'Sin Sod'. Traditionally, the groom will be expected to pay a dowry or sin sod to the family, to compensate them for the loss of their daughter. The dowry or sin sod is also to demonstrate that the groom is financially capable of taking care of their daughter. The idea of "paying" for your bride is deeply embedded in Thai culture and is considered absolutely normal. Most Westerners however find this idea somewhere between distasteful or an absolute scam. The concept of dowry is not a Western concept as many Westerners believe in romantic love and that money has nothing to do with it. Usually, the dowry is symbolic and will normally be returned to the couple after the wedding.

"Sinsod" OR "Dowry"
Traditionally, what might be called a dowry is paid by the groom to the bride’s family. The groom is in effect paying for ‘the mother’s milk’ or the upbringing of his bride. If the bride has had a good upbringing then the amount of sinsod will be higher. If the bride has not been married before, has no children, is well-educated, has a good career and stable family life, then this will be reflected in the amount of sinsod asked for. It also goes to show that the groom is financially capable of looking after his wife and indeed, his wife’s family if needs be. It is important to stress how crucial the concept of family is in Thai life. If you are marrying a Thai, you are also marrying in to that person’s family and everything that may entail.
It’s impossible to say how much is the right price to pay for sinsod because there are so many variables involved. Some Thai families may see their daughter marrying a foreigner as the equivalent of winning the lottery. Despite the fact that the groom may not be a rich man in his home country, he will be deemed to be a rich man in Thailand and a vast amount may be asked for. By contrast, some Thai families may appreciate that the prospective son-in-law comes from a different culture and may not ask for sinsod in return for a solemn promise to take care of their daughter. In some cases sinsod is accepted by the bride’s parents and is given back the following day as a wedding present to the newlyweds.
It can be quite a thorny issue for Western men marrying Thai women, but it should be understood that if you are marrying in Thailand it is something you will very likely have to come to terms with. If you are considering marriage to a Thai national you should already be aware that Thai culture is very different and should not feel insulted if asked for sinsod. One thing that many Thai grooms do is to pay the sinsod in small denominations (i.e. 100 Baht notes) so that the amount on show looks even more impressive when it is spread out.
The most important aspect is ‘face’. This can’t be stressed enough. Keep your cool and liaise with your wife-to-be and her family to reach a mutually agreeable amount. Sometimes the amount paid in sinsod will be returned by the bride’s family to the wedding couple. By having a large amount of sinsod paid, the Thai family don’t lose face with their friends and peers. It might not be important to you what other people think of you, but it matters to Thai people and that should never be forgotten in any aspect of Thai culture.
(แหล่งที่มาค่ะ http://www.watdee.com/sinsod.html )

Dowry (Sin Sod)
Thai parents tend to view marriage as being based on financial security. Hence the dowry or sin sod.No Thai family would want their daughter to marry someone who does not have an interest in the financial security of the family.
This makes the dowry a must during a Thai wedding ceremony. Look at dowry from a Thai perspective.Cultures and traditions are different. As an example when a Thai man marries a woman he would generally move into the family home. It would then become his responsibility to manage his in-laws business be it a farm or a store. He would also be tasked with taking care of her family members and anyone related to her family. Should he fall into financial difficulty her family would then support him. The concept of dowry or sin sod even though alien to Westerners shows how closely knit Thai’s are compared to Westerners who are more individual in deed and thought. What is normal in the West such as “old age homes” or old age pensions are not standard in Thailand. Children take care of the family during their retirement years. The dowry is therefore important in Thai culture.
In Thailand inheritance of the family home and family land is generally through the female children. Dowry however is not linked to it directly. The husband of the daughter in the family would therefore reap the any benefit of all that might have been achieved by his wife’s parents. Unfortunately being a foreigner you don't benefit from the equation. Firstly a foreigner cannot own land or a house in Thailand in his name. (Consult a reputable law firm to discuss your options). It is the lack of benefit that most foreigners object to paying dowry. Even though some Westerners object to the concept of dowry, many simply disagree with the amount payable. The amount of dowry paid usually depends on the social status of the family and/or the level of education of the bride or her income alternatively both. A dowry of a million baht for an uneducated woman is unheard of. A Dowry for an average middle class educated Thai would normally be in the region of 100,000 Baht.
This varies as an example, should the bride be a divorcee or a ‘'Mia Maiy' - a spoiled/ruined wife, normally no dowry is paid. If she has a child or children from a former marriage or relationship no dowry is paid either.
Thai Dowry is a touchy subject in Thailand with Westerners. Normally you or someone in your family approaches the Thai woman’s parents to negotiate” Tong Mun" and "Sin Sod." Tong Mun which literally means "gold engagement" is in reality 24 karat gold jewelry given to the bride. The concept is similar to an engagement ring in the West. Sin Sod is the dowry itself. The word "Sin" means riches. This could be anything of value. In Africa it would include farm animals, land and such. "Sod” on the other hand is the act of storing or in this context holding the "Sin". Hence the term Sin Sod or dowry.
The "Tong Mun" or engagement ring will be presented to the bride at a ceremony called a "Phitee Mun," which normally takes place at the bride’s parent’s home. This is mainly attended by family members and shows acceptance into the family. You and your prospective bride are now viewed as a "Koo Mun" which literally means "tied or joined couple," (engaged party). Ever seen a Westerner in Thailand with loads of string tired around his wrists? He partook in a "Bai Sri Soo Kwan" or engagement ceremony. The engagement ceremony concludes with each guest tying a string around the wrist of the bride and that of the groom, while giving the married couple their blessings, followed by the placing of a garland of flowers around the couple’s necks. This is followed by the “Koo Mun,” or the actual wedding ceremony a few weeks later with the presentation of the dowry.
Dowry however does not play a role when registering a Thai marriage. There is no need to show that dowry had been paid as it is not part of the legal system. Dowry is a tradition not a law.

(แหล่งที่มาค่ะ http://www.marrythailand.com/thailand-dowry.php )

The History of a Traditional Thai Wedding Ceremony
Many traditional Thai weddings are still arranged and take place with adherence to centuries old traditions. Though much rarer now than in former times, in some areas, particulary rural ones and amongst families in high society, couples are still matched, in some cases to people they hardly know. These matches are arranged by the parents of two young people who come from similar socio-economic backgrounds, and from families with mutually favorable views of the youngsters respective backgrounds and rearing.While this kind of matchmaking is much rarer than it used to be, dowries are still often expected and given, even when the young couple have courted and chosen one another. The amount of the dowry is negotiated by the parents, however in contrast to India for example, where custom dictates payment of a sum of money or property by the bride's family, in Thailand it is the reverse, with the groom's family paying the family of the bride for the loss of not only a daughter, but a valued worker and caregiver. The value of a dowry will vary depending on the social and economic status of the woman being "given away." Fifty thousand baht may be paid to the family of a farm girl, while many hundreds of thousands or even millions of baht may be offered in matches involving wealthy merchant class or high society families.
When a Thai says they are married, it is often in the Buddhist, though not neccesarily legal sense. Of primary importance is sanctification and blessing by monks, which is enough for many couples who see no need to officially register their marriage, or who choose not to do so for other practical reasons. As in many parts of Asia, the wife is still seen by society as being subordinate to her husband, and a marriage is sometimes likened to an elephant, where the wife is the hind legs. Traditionally, the engagement took place during a ceremony called Thong Mun, when the man presented a gift of gold to his fiancee. The ceremony was attended by parents, relatives and friends. The gold was likely to be in form of a necklace, measured in weight using a system called the baht (also the name of the currency used in Thailand.) One baht of gold is the equivalent of 1 troy ounce, or about 15 grams. A minimum of 2 baht is given, but never an amount that is not divisible by two. The fianceed couple are henceforth referred to as "Kumun" until they are married. The engagement may take place well in advance of the wedding, or it may be precede the wedding on the same day.
In former times payment of the dowry or "sinsod" also merited a ceremony, called "Sinsod Tongman" when the money and/or property were formally presented. In modern times, the payment is often made at the wedding, and the engagement ceremony may have been deemed unnecessary. However the wedding rituals presided over by the monks remain elaborate and often lengthy.
The ceremony may be held in the home of the bride, or finances permitting, a hall, restaurant or hotel. A number of monks - anywhere from 3 to 9 attend, with a senior monk leading the recitation of Pail chants that bless the union. This must take place in the morning, allowing the monks who cannot eat after midday, to partake of an offered meal, following. All are seated on the floor or a platform, and the setting is adorned with a Buddha image, an altar, fragrant flowers, candles and incense. The chants are followed by application of powdered incense to the foreheads of the bride and groom, a symbolic presentation of coiled string, and finally the pouring of water over the couple's hands, first by the village elder and then one by one, by all of the guests.Those who attend the ceremony are also invited to the party afterwards, where during a copious meal the bride and groom go from table to table to pay their respects to their guests. Traditionally they will present each with a small souvenir and at this time gifts of cash in envelopes are placed on a tray carried by the couple. Other gifts such as useful household items may also be presented to the couple at this time.
In ancient times a wedding chamber ceremony followed the party, when a married elderly couple would prepare the wedding bed and place on it a plate with offerings of food symbolizing fertility, while other token symbols of good luck and prosperity were placed in the room. Meanwhile a silver and a golden barrier were created outside the room by the guests, through which the couple passed before proceeding to the wedding chamber, where they were advised by their elders of their future responsibilities, and had their union blessed. The guests then retire leaving the couple alone.
(แหล่งที่มาค่ะ http://www.weddingsinthailand.com/traditional_thai_wedding.php )

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ข้อมูล website หางานในออสเตรเลีย

เนื่องจากเป็นประมาณ working women ค่ะ มาอยู่ออสได้แค่ 4 เดือน ก็มุ่งมั่นที่จะหางานทำทุกวิถีทางที่สามารถทำได้ เลยสรุปรายชื่อ website ที่จะใช้ในการสมัครงานในออสเตรเลียไว้น่ะค่ะ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ เพื่อนๆ พี่ๆน้องๆ ทั้งหลายค่ะ

รายชื่อเวปไซด์ :

  1. http://www.jobsdb.com/AU/
  2. http://mycareer.com.au/
  3. http://www.wowcareers.com.au/wowcareers/woolworths/home/
  4. http://www.jobsearch.gov.au/
  5. http://www.seek.com.au/
  6. http://www.theage.com.au/
  7. http://workplace.gov.au/
  8. http://www.drake.com.au/
  9. http://www.jobguide.dest.gov.au/
  10. http://www.careeone.com.au/
  11. http://www.myfuture.edu.au/
  12. http://www.traveljobs.com.au/
  13. http://www.job-directory.com.au/
  14. http://www.careersonline.com.au/
  15. http://www.jobplus.com.au/

web site for voluntary work:

  1. http://www.govolunteer.com.au/
  2. http://www.volunteeringaustralia.org/
  3. http://www.workplace.gov.au/
  4. http://www.volunteersearch.gov.au/

หลังจากได้วีซ่าแล้วจะต้องทำอย่างไรต่อ

เที่ยวค่ะ ไม่รู้ล่ะ ขอไปเที่ยวก่อนล่ะกัน เราก็เข้าไปในเวปดูว่าในเมืองที่เราอยู่ที่เวลาเขามาเที่ยวทัวร์เขาจะพาไปไหนกันบ้าง เราก้ให้แฟนพาเราไปตามสถานที่นั้นๆล่ะง่ายดี เนื่องจากเราไม่รู้จักสถานที่ของที่นี่เลย แล้วสำรวจแหล่งหาซื้ออาหารไทย ถือว่าเป็นการพักร้อนล่ะกัน หลังจากจากพักร้อนเสร็จแล้วเริ่มอยู่บ้านเฉยๆ คำว่า "เบื่อ" ก็ลอยมาทักทายซะงั้น เอาล่ะสิ คราวนี้เราก็คิดถึงเรื่องเรียน, เรื่องงาน, etc.,

หลังจากที่เราเข้าไปรีบวีซ่า ทางสถานฑูตจะคืนเอกสารบางส่วนมาให้เรา และก็จดหมายอีก 1 ฉบับ สำหรับนำติดตัวมาด้วย ซึ่งในนั้นก็บอกรายละเอียดต่าง เกี่ยวกับเรื่อง เรียนภาษาอังกฤษฟรี 510 ชั่วโมง เรื่อง medical care และเรื่องอื่นๆ ทุกคนคงทราบกันดีอยู่แล้ว

จะติดต่อเรียนภาษาอังกฤษได้อย่างไร?
โครงการภาษาอังกฤษสำหรับผู้ใหญ่ย้ายถิ่น (Adult Migrant English Program, AMEP) http://www.immi.gov.au/living-in-australia/help-with-english/amep/learning-english/_pdf/welcome-amep-thai.pdf

จะไปเรียนที่ไหนได้บ้าง?
Where can I learn English?
http://www.immi.gov.au/living-in-australia/help-with-english/learn-english/client/pubs/where-can-i-learn-english.pdf

จะเรียนหลักสูตรอะไรได้บ้าง
ให้ไปติดต่อที่ TAFE ค่ะ ที่นี่จะมีรายละเอียดหลักสูตรที่เปิดสอนมีหลายหลักสูตรมากค่ะ ทั้ง Certificate และ Diploma ค่ะ

ทำการขอ Tax File Number ค่ะ  เผื่ออนาคตมีงานทำจะได้มีไว้ใช้ได้เลย

ติดต่อ medicare เพื่อขอลงทะเบียนค่ะ

การขอวีซ่าท่องเที่ยวออสเตรเลีย

เอกสารที่ต้องใช้ วีซ่าท่องเที่ยว :
การยื่นวีซ่าท่องเที่ยวออสเตรเลียสามารถทำได้2 วิธี
คือ

1. ทางไปรษณีย์
2. ผ่านบริษัทตัวแทนชื่อ VFS ต้องไปติดต่อสำนักงานที่สาทร


เอกสารกรณีทั่วไป :
1. แบบฟอร์มขอวีซ่าท่องเที่ยว (48r) print แบบฟอร์มนี้เขียนด้วยปากกาhttp://www.immi.gov.au/allforms/pdf/48r.pdf ไม่แน่ใจว่าเขาอัพเดตแล้วยัง ตอนที่ขอ print form นี้มาเขียน พอไปถึง VFS เขาให้แบบฟอร์มมาเขียนใหม่ เนื่องจากบอกว่าฟอร์มไม่อัพเดต
http://www.immi.gov.au/allforms/foreign/48rtha.pdf (เวอร์ชั่นไทย) เอาไว้ดูเป็นตัวอย่างในการกรอก
2. รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว พื้นหลังเป็นสีฟ้าหรือสีอ่อนหรือขาว จำนวน 1 รูป ติดลงบนแบบฟอร์ม 48r หน้าแรก
3. Passport ที่มีอายุเหลือเกิน 6 เดือน และ Passport’s Copy (สำเนา) 1 ชุด เซ็นรับรองสำเนา ถ้า
อายุพาสปอร์ตเหลือไม่ถึง 6 เดือนก็ต้องไปทำเล่มใหม่ก่อนนะคะ
4. สำเนาบัตรประชาชน ( Identity Card’s copy ) 1 ชุด เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง

5. สำเนาทะเบียนบ้าน ( Census Registration’s copy ) เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง
6. สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ (ถ้ามี)
7. Work’s Certificate หนังสือรับรองการทำงานเป็นภาษาอังกฤษ ระบุเงินเดือน และวันลา

8. หลักฐานทางการเงิน เช่น slip เงินเดือน, Bank’s Statement ย้อนหลัง 6 เดือน ( เงินเข้าออกต้องแนjนอน สม่ำเสมอ และมีที่มาที่ไป เช่น บัญชีเงินเดือนมีเงินเข้าประจำทุกเดือน แนะนำให้วางแผนล่วงหน้า6 เดือนค่ะ รัน statement สม่ำเสมอ เลขประมาณหลักหกค่ะ ถึงจะน่าเชื่อถือ)
9. ค่าธรรมเนียมการขอวีซ่า 2800 3,920 บาท(อัพเดตล่าสุด) ต้องซื้อแคชเชียร์เช็ค (ถ้าซื้อในกรุงเทพฯ นนทบุรี สมุทรปราการ) หรือซื้อแบงค์ดราฟท์ (ถ้าไม่ได้ซื้อใน 3 จังหวัดที่ว่ามา) สั่งจ่าย "สถานทูตออสเตรเลีย กรุงเทพฯ"  หรือแลกซื้อแคชเชียร์เช็ค ที่ VFS ได้เลยค่ะ
10. ใบจองตั๋วเครื่องบิน (ถ้ามี) แค่จองเฉย ๆ นะคะ ยังไม่ต้องจ่ายเงินก่อนนะค่ะ เข้าไปจองในเวปแล้วพิมพ์ออกมา
11. Other information to show that you have an incentive and authority to return to your home country. เอกสารไรก็ได้ที่ทำให้สถานทูตมั่นใจว่าท่านจะบินกลับมาหลังจากไ ด้เที่ยวแล้ว ก่อนวีซ่าหมด เช่น
ใบรับรองการเป็นนักศึกษา, ใบนัดตรวจจากแพทย์ (ถ้ามี), เอกสารผ่อนบ้าน, ผ่อนรถ, พันธบัตร์ต่างๆ เป็นต้น คือเอกสารไรก็ได้ที่ยืนยันว่าเรากลับไทยชัวร์ ไปไม่แล้วไปลับ

กรณีมีผู้สปอนเซอร์

เอกสารส่วนตัว
1. แบบฟอร์มขอวีซ่าท่องเที่ยว (48r) ที่กรอกเรียบร้อยแล้ว (โดย Print แบบฟอร์มนี้เขียนด้วยปากกา)
2. รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว พื้นหลังเป็นสีฟ้าหรือสีอ่อนหรือขาว จำนวน 1 รูป ติดลงบนแบบฟอร์ม 48r หน้าแรก
3. Passport ที่มีอายุเหลือเกิน 6 เดือน และ Passport’s Copy (สำเนา) 1 ชุด เซ็นรับรองสำเนา ถ้าอ
ายุพาสปอร์ตเหลือไม่ถึง 6 เดือนก็ต้องไปทำเล่มใหม่ก่อนนะคะ
4. สำเนาบัตรประชาชน ( Identity Card’s copy ) 1 ชุด เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง
5. สำเนาทะเบียนบ้าน ( Census Registration’s copy ) เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง
6. สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ (ถ้ามี)
7. Work’s Certificate หนังสือรับรองการทำงานเป็นภาษาอังกฤษ ระบุเงินเดือน และวันลา
8. หลักฐานทางการเงิน เช่น slip เงินเดือน, Bank’s Statement ย้อนหลัง 6 เดือน (อันนี้ยื่นไปเผื่อไว้ แต่ส่วนใหญ่เขาจะดูจากสปอนเซอร์เป็นหลัก) ถ้าจะให้ดีมีหลักฐานสปอนเซอร์โอนเงินให้ยิ่งดีค่ะ สำหรับ ค่าตั๋วเครื่องบิน เพิ่มความน่าเชื่อถือในความสัมพันธ์ค่ะ
9. Other information to show that you have an incentive and authority to return to your home country. เอกสารไรก็ได้ที่ทำให้สถานทูตมั่นใจว่าท่านจะบินกลับมาหลังจากไ ด้เที่ยวแล้ว ก่อนวีซ่าหมด เช่น
ใบรับรองการทำงานบริษัทจะระบุวันลาของเราไว้, ใบรับรองการเป็นนักศึกษา, ใบนัดตรวจจากแพทย์ (ถ้ามี), เอกสารผ่อนบ้าน, ผ่อนรถ, พันธบัตร์ต่างๆ เป็นต้น คือเอกสารไรก็ได้ที่ยืนยันว่าเรากลับไทยชัวร์ ไปไม่แล้วไปลับ

ส่วนสปอนเซอร์

1. Passport’s Copy and Thailand Visited Recorded สำเนาพาสปอร์ตผู้สปอนเซอร์ พร้อมรับรองสำเนา
3. Work’s Certificate ใบรับรองการทำงานผู้สปอนเซอร์ หรือหลักฐานทางการเงินของสปอนเซอร์
4. Tax Invoice
5. National Police Certificate
6. Household Registration
7. Bank’s Statement
8. Divorce Certificate’s Copy (ถ้ามี)
10. ซองจดหมาย จ่าหน้าซองหาตัวเอง ติดแสตมป์ให้เรียบร้อย (ในกรณียื่นเอง ผ่านทางไปรษณีย์) แล้วส่งไปที่ "แผนกวีซ่า สถานทูตออสเตรเลีย เลขที่ 37 ถนนสาทร (ใต้) กรุงเทพฯ 10120"
12. ใบจองตั๋วเครื่องบิน (แค่จองนะคะ ยังไม่ต้องจ่ายเงิน ลองเข้าไปทำการจองใน web แล้ว print ใบจองออกมา เพื่อนำไปยื่นค่ะ

เอกสารความสัมพันธ์
1. จดหมายเชิญ จากผู้สปอนเซอร์ (กรณีมีผู้สปอนเซอร์) Invitation Letter (ในจดหมายเชิญควรระบุว่าจะsupport เราทั้งเรื่องที่พักอาศัยและค่าใช้จ่ายทั้งหมดในขณะทีเราอยู่ออสเตรเลีย,ถ้าบอกว่าเชิญมางานต่างๆ เช่น วันเกิดเขา หรือสมาชิกในครอบครัว หรืองานแต่งงานของคนในครอบครัวเขา ประมาณนี้จะยิ่งดีค่ะ
2. รูปถ่ายคู่กัน,ถ่ายกับเพื่อน กับญาติ
3. บิลโทรศัพท์ (สำหรับคนที่ใช้โทรศัพท์แบบเติมเงินสามารถเข้าไป print รายการได้ใน web นะคะ แต่จะมีแค่ 2 เดือนล่าสุดเท่านั้น) เพื่อยืนยันความสัมพันธ์ มีอะไรที่ยืนยันได้เอาไปยื่นให้หมดเลยค่ะ เช่น history msn,skype,etc.,
4. อีเมลล์
5. อื่นๆ ยิ่งมีเยอะยิ่งดี ไม่ต้องกลัวว่าเยอะไปค่ะ ทางสถานฑูตรับเอกสารของเราทั้งหมดค่ะ ยิ่งเยอะยิ่งดี 

เพิ่มเติม:
1. วีซ่าท่องเที่ยวออสเตรเลีย ใช้เวลาพิจาณา ประมาณ 1 อาทิตย์ ถ้าหากว่าไม่มีปัญหาใดๆ หรือต้องการเอกสาร2. เตรียมเอกสารให้พร้อม ก่อนจะไปยื่นวีซ่า
3. วีซ่าท่องเที่ยว มีทั้งแบบขอไปเที่ยวโดยตัวเองสปอนเซอร์ และคนอื่นสปอนเซอร์
4. คนไม่มีงานทำ หรือ ไม่มี statement ก็ทำวีซ่าท่องเที่ยวได้ (ถ้ามีคนสปอนเซอร์ให้ ก็สามารถทำได้) เนื่องจากถ้าหากมีสปอนเซอร์
เขาจะไม่ดูเรื่องการเงินของเราเลย จะดูแต่หลักฐานการเงินของสปอนเซอร์เท่านั้น สำหรับเรายื่นแบบมีสปอนเซอร์ แต่ก็เตรียม book bank ของตัวเองไปด้วย แต่เขาไม่สนใจเลย ส่งกลับคืนเรามาเฉยเลย โถ!อุตส่าห์เตรียมไว้5. วีซ่าท่องเที่ยวออสเตรเลีย ขอสูงสุดได้ถึง 1 ปี แต่ส่วนมากจะได้ไม่เกิน 3 เดือน หรือแบบ 1 ปี มัลติเบิล คือเข้าออกได้ครั้งละไม่เกิน 3 เดือน
ภายใน 1 ปีจะเข้าออกกี่ครั้งก็ได้
6. เอกสารวีซ่าท่องเที่ยว ไม่ต้องแปลค่ะ
สำนักงานเพื่อการยื่นขอวีซ่าออสเตรเลีย (VFS) ตั้งอยู่ที่:
สถานีรถไฟฟ้าสุรศักดิ์ ฝั่งเดียวกับที่เราออกจากรถไฟฟ้า

ตึกไทยซี ซี ทาวเวอร์ยูนิต 2 & 3 ชั้น 34
889 ถนนสาทรใต้กรุงเทพฯ 10120
เบอร์โทรศัพท์ขอคำแนะนำ +66 (0) 26723476-9
Email:
info.diacth@vfshelpline.com

วันเปิดทำการ : จันทร์ถึงศุกร์
เวลายื่นเอกสาร: 08.30 - 15.00 น.
เวลารับพาสปอร์ต: 15.00-16.30 น.